หัวข้อ   “ ผู้ว่าฯ ธปท. ดอกเบี้ย และรัฐมนตรีฯ คลัง กับปัญหาค่าบาทแข็ง
นักเศรษฐศาสตร์ 80% เชื่อมั่นในตัว ผู้ว่าฯ ธปท. คาด กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในวันพุธนี้
พร้อมแนะผู้ว่าฯ ธปท. และ รัฐมนตรีฯ คลัง ควรหันหน้าเข้าหากัน ให้เกียรติกัน ไม่ก้าวก่ายอำนาจกัน มีเป้าหมาย
เศรษฐกิจเดียวกัน โดยยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ
35 แห่ง จำนวน 65 คน เรื่อง “ผู้ว่าฯ ธปท. ดอกเบี้ย และรัฐมนตรีฯ คลัง กับปัญหา
ค่าบาทแข็ง
”  โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 16 – 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 63.1 กังวลมากถึงมากที่สุด ต่อปัญหาความ
ขัดแย้งทางความคิดที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐมนตรีฯ คลัง กับ ผู้ว่าฯ ธปท. ส่วนร้อยละ 32.3
กังวลน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                 เมื่อถามว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ถึงเวลาหรือยัง
ที่ต้องใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยเฉพาะในประเด็นค่าเงินบาท
ร้อยละ 46.2 เห็นว่ายังไม่ถึงเวลา โดยให้เหตุผลว่า อัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ต้นตอของ
ปัญหา อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่เครื่องมือดูแลค่าเงินบาทที่มีประสิทธิภาพ หากแต่เป็น
เครื่องมือที่ใช้ดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่ร้อยละ 29.2 เห็นว่าถึงเวลา
แล้ว เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งเพราะดอกเบี้ยสูงกว่าประเทศอื่นๆ ทำให้เงินไหลเข้าประเทศทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ประกอบกับ
เศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มชะลอตัว  นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 49.2 ยังเห็นว่า การลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายร้อยละ 1.0 เป็นการแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าที่ไม่ถูกทาง
  ขณะที่ร้อยละ 18.5 เห็นว่าถูกทางแล้ว และ
ร้อยละ 55.4 เห็นว่า กนง. ควรปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยควรให้ความสำคัญกับภาวะเงินเฟ้อมากกว่าค่า
เงินบาท
  ขณะที่ร้อยละ 18.5 เห็นว่าควรให้ความสำคัญกับค่าเงินบาทมากกว่า
 
                 สำหรับ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 29 พฤษภาคมที่จะถึงนี้
นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 41.5 คาดว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 2.50

ขณะที่ร้อยละ 38.5 คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมที่ร้อยละ 2.75
 
                 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 73.8 เห็นว่านโยบายการเงินจำเป็นต้องสอดประสานกับนโยบาย
การคลัง
  มีเพียงร้อยละ 10.8 เท่านั้นที่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอดประสานกัน
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่ามีความเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดต่อการทำหน้าที่ ผู้ว่าฯ ธปท. ของคุณประสาร ไตรรัตน์วรกุล
โดยเฉพาะการเตรียมมาตรการรองรับค่าเงินบาทแข็ง ร้อยละ 80.0 เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด มีเพียงร้อยละ 13.8 ที่เชื่อมั่น
ค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย
 
                  ส่วนสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการบอก ผู้ว่าฯ ธปท. และ รัฐมนตรีฯ คลัง เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งทาง
ความคิดที่เกิดขึ้น มีดังนี้
                          (1) หันหน้าเข้าหากัน เปิดใจรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ให้เกียรติกัน โดยยึดผลประโยชน์ของ
                               ประเทศเป็นที่ตั้ง
                          (2) เข้าใจอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ไม่ก้าวก่ายอำนาจกัน ไว้ใจและเชื่อมั่นกัน แล้วแก้ไขปัญหาตาม
                               อำนาจที่มีโดยมีเป้าหมายเดียวกันคือการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ
                          (3) อย่าใช้ทิฐิ ตัดสินใจอย่างชาญฉลาดภายใต้ข้อมูลและประสบการณ์ที่มี ใช้สื่อให้น้อยลงเพื่อไม่ให้
                               มีข่าวหลุดออกไปเพราะจะดูไม่ดีในตลาด และประสิทธิภาพของเครื่องมือจะลดลง
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
 
             1. ความกังวลของนักเศรษฐศาสตร์ต่อปัญหาความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐมนตรีฯ คลัง
                 กับ ผู้ว่าฯ ธปท.


ร้อยละ
 
63.1
กังวลมากถึงมากที่สุด
(แบ่งเป็นกังวลมากที่สุดร้อยละ 7.7 และกังวลมากร้อยละ 55.4)
32.3
กังวลน้อยถึงน้อยที่สุด
(แบ่งเป็นกังวลน้อยที่สุดร้อยละ 9.2 และกังวลน้อยร้อยละ 23.1)
4.6
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             2. ความเห็นต่อประเด็น “สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย
                 โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ถึงเวลาหรือยังที่ต้องใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
                 ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเด็นค่าเงินบาท”

ร้อยละ
 
46.2
ยังไม่ถึงเวลา เพราะ
(1) อัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ใช่ต้นตอของปัญหา หากลดดอกเบี้ยไม่เพียงจะ
     ไม่ช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าแต่จะก่อปัญหาอื่นตามมาด้วย เช่น เงินเฟ้อ ครัวเรือน
     ก่อหนี้มากขึ้น การออมลดลง
(2) อัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ใช่เครื่องมือดูแลค่าเงินบาทที่มีประสิทธิภาพ หากแต่
     เป็นเครื่องมือที่ใช้ดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ดังนั้นควรใช้เครื่องมือ
     อื่นที่มีประสิทธิภาพในการดูแลค่าเงินบาทมากกว่า
(3) สถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งไม่ได้รุนแรงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นใน
     ภูมิภาค ผู้ประกอบการยังพอปรับตัวได้ อีกทั้งเศรษฐกิจโดยรวมยังขยายตัวดี
     นอกจากนี้ ผู้เกี่ยวข้องต้องเชื่อมั่นใน กนง. ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย
29.2
ถึงเวลาแล้ว เพราะ
(1) ค่าเงินบาทแข็งเพราะดอกเบี้ยสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีการปรับอัตราดอกเบี้ย
     ลดลง
(2) เศรษฐกิจในประเทศเริ่มชะลอตัว และมีผลกระทบให้เห็นจากปัญหาค่าเงิน
     บาทแข็ง
(3) แรงกดดันเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาฟองสบู่ยังไม่ชัดเจน
24.6
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             3. ความเห็นต่อประเด็น “การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ1.0 จะช่วยแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่า
                 ได้ถูกทางหรือไม่”

ร้อยละ
 
18.5
ถูกทาง
49.2
ไม่ถูกทาง
32.3
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             4. ความเห็นต่อประเด็น “สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน กนง. ควรปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
                 โดยควรให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากกว่ากันระหว่าง เสถียรภาพภายนอก (ค่าเงินบาท) กับ
                 เสถียรภาพภายใน (ภาวะเงินเฟ้อ)

ร้อยละ
 
18.5
ควรให้ความสำคัญกับเสถียรภาพภายนอก (ค่าเงินบาท) มากกว่า
55.4
ควรให้ความสำคัญกับเสถียรภาพภายใน (ภาวะเงินเฟ้อ) มากกว่า
26.1
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             5. การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในวันประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันที่
                 29 พฤษภาคมนี้ กนง. จะมีมติเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไร

ร้อยละ
 
38.5
กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมที่ร้อยละ 2.75
41.5
กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เป็นร้อยละ 2.50
(นักเศรษฐศาสตร์ 22 ใน 25 คน เชื่อว่า กนง. จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง
ร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 2.50 จำนวน 1 คนเชื่อว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.25 และ
จำนวน 2 คนเชื่อว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.00)
1.5
กนง. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเป็นร้อยละ 3.00
18.5
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             6. ความเห็นต่อประเด็น “สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคาร
                 แห่งประเทศไทย (ธปท.) กับนโยบายการคลังของกระทรวงการคลัง จำเป็นต้องสอดประสานกัน
                 หรือไม่

ร้อยละ
 
73.8
จำเป็นต้องสอดประสานกัน
10.8
ไม่จำเป็นต้องสอดประสานกัน
13.8
อื่นๆ คือ ต้องมีเป้าหมายเดียวกัน แต่คนละบทบาทหน้าที่กัน กล่าวคือ มีเป้าหมาย
ให้เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพเหมือนกัน โดยกระทรวงการคลังมีหน้าที่
ทำให้เศรษฐกิจเติบโต ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ทำให้เศรษฐกิจมี
เสถียรภาพ (เรื่องเติบโตต้องพึ่งคลัง เรื่องเสถียรภาพต้องพึ่ง ธปท.)
1.6
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             7. ความเชื่อมั่นต่อการทำหน้าที่ ผู้ว่าฯ ธปท. ของคุณประสาร ไตรรัตน์วรกุล (โดยเฉพาะการเตรียม
                 มาตรการรองรับค่าเงินบาทแข็ง)


ร้อยละ
 
80.0
เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด
(แบ่งเป็นเชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 18.5 และเชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 61.5)
13.8
เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย
(แบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยร้อยละ 9.2 และไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 4.6)
6.2
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             8. สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการบอก ผู้ว่าฯ ธปท. และ รัฐมนตรีฯ คลัง เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้ง
                 ทางความคิดที่เกิดขึ้น มีดังนี้

(1) หันหน้าเข้าหากัน เปิดใจรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ให้เกียรติกัน โดยยึดผลประโยชน์ของ
     ประเทศเป็นที่ตั้ง
(2) เข้าใจอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ไม่ก้าวก่ายอำนาจกัน ไว้ใจและเชื่อมั่นกัน แล้วแก้ไขปัญหา
     ตามอำนาจที่มีโดยมีเป้าหมายเดียวกันคือการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ
(3) อย่าใช้ทิฐิ ตัดสินใจอย่างชาญฉลาดภายใต้ข้อมูลและประสบการณ์ที่มี ใช้สื่อให้น้อยลงเพื่อไม่ให้
     มีข่าวหลุดออกไปเพราะจะดูไม่ดีในตลาด และประสิทธิภาพของเครื่องมือจะลดลง หรือใช้สื่อให้
     เป็นประโยชน์
(4) อื่นๆ คือ มือที่ 3 ควรหยุดวิพาวิจารณ์, ผู้ว่าฯ ธปท. ควรลาออก, ดอกเบี้ยไม่ตอบโจทย์การแก้
     ปัญหาเงินบาทแข็งทั้งหมด, อย่าลดดอกเบี้ยมากเพื่อ Shock ค่าเงินบาท เพราะเศรษฐกิจ
     ภาพใหญ่อาจ Shock ตาม, ใช้เครื่องมือให้หลากหลายขึ้น(ไม่ได้มีดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว)
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
ไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์
               วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 35 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการ
               พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
               ประเทศไทย (TDRI)   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย   สมาคมธนาคารไทย   บริษัททริสเรทติ้ง   ตลาดสินค้าเกษตร
               ล่วงหน้าแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์   ธนาคารเพื่อการ
               ส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย  ธนาคารกรุงไทย   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   ธนาคารธนชาต
               ธนาคารทหารไทย   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   ธนาคารไทยพาณิชย์   บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ  
               บริษัทหลักทรัพย์ภัทร   บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน   บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส   บริษัทหลักทรัพย์จัดการ
               กองทุน กรุงไทย   บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนฟินันซ่า  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้   สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  คณะวิทยาการจัดการ
               มหาวิทยาลัยขอนแก่น   คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ (สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์)
               มหาวิทยาลัยนเรศวร   ภาควิชาเศรษฐศาสตร์คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
               สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ   คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์
               มหาวิทยาลัย   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง   และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลา
ที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  16 - 22 พฤษภาคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 27 พฤษภาคม 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
28
43.0
             หน่วยงานภาคเอกชน
25
38.5
             สถาบันการศึกษา
12
18.5
รวม
65
100.0
เพศ:    
             ชาย
39
60.0
             หญิง
26
40.0
รวม
65
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
2
3.1
             26 – 35 ปี
20
30.8
             36 – 45 ปี
21
32.3
             46 ปีขึ้นไป
22
33.8
รวม
65
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
6.1
             ปริญญาโท
43
66.2
             ปริญญาเอก
18
27.7
รวม
65
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
11
16.9
             6 - 10 ปี
17
26.2
             11 - 15 ปี
10
15.4
             16 - 20 ปี
8
12.3
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
19
29.2
รวม
65
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776